เมนู

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ดังต่อไปนี้
บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือนิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์
เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรตสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้น
กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้
ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา. บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้า-
หมองจิต คืออกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้น-
ดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น
บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือบรรเทา บรรเทาวิเศษ
ละด้วยวิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ
ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความ
เยื่อใย คือตัณหาราคะอันไปแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ด้วยมรรคที่เหลือ
ด้วยว่าความเยื่อใยเท่านั้น ท่านเรียกว่า เสฺนหโทโส เพราะเป็นปฎิปักษ์
กับคุณธรรม. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 2

คาถาที่ 3


33) วิปิฏฺฐิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ
ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ
ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทธํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.